You are not authorized to view this resource.
You need to login.
Thailand Full Gospel Masscommunications


    สาระน่ารู้ 



7 โรคร้าย ของผู้สูงอายุ

7 โรคร้าย  ของผู้สูงอายุ

      เมื่ออายุมากขึ้น โรคภัยต่างๆ ก็พากันถามหา มุมสุขภาพฉบับนี้จึงรวบรวม 7 โรคร้ายสคัญที่เป็นภัยของผู้สูงอายุมาฝาก รวมไปถึงคนทงานก็สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อเตรียมตัวรับมือกันได้แต่เนิ่นๆ ...


1. โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน : ผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มักอยู่ในช่วงอายุ 55-65 ปี ที่สำคัญ 70% คือตัวเลขของคนที่มีความดันสูงแต่ไม่รู้ตัวเองว่าเป็น ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ อัมพาตมากกว่าคนทั่วไปถึง 7 เท่า

2. โรคอัลไซเมอร์ : อาการมักเริ่มจากการหลงลืมจำเรื่องในแต่ละวันไม่ค่อยได้ บางคนอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายหรือชอบเก็บตัว หากปล่อยทิ้งไว้นานจะยิ่งหนักข้อจนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรงได้

3. ลมชักแบบซ่อนเร้น : มักพบในผู้สูงอายุและเด็กเล็กอาการชักมีหลายแบบ อาจวูบล้ม ตื่นขึ้นมานิ่งไม่รู้สึกตัวจำไม่ได้ไปชั่วขณะ หรือมึนงง ปวดหัว เดินเซ จนถึงเกร็งกระตุก เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลต่อสมอง ทำให้สูญเสียความทรงจำในที่สุด

4. ข้อเสื่อม : พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะข้อสะโพกและข้อเข่า ทำให้เกิดความเจ็บปวดจนไม่อาจใช้งาน ป้องกันได้ด้วยการควบคุมน้ำหนักและเลี่ยงการนั่งยองๆ

5. กระดูกพรุน : กว่า 50% ของผู้หญิง และ 20%ของผู้ชาย ที่อายุมากกว่า 65 ปี พบว่ามีภาวะกระดูกบางหรือพรุน ป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และหมั่นตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเพื่อดูว่ามีความเสี่ยงมากหรือน้อยเพียงใด

6. กระดูกคอเสื่อม : มักพบในคนที่อายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไป ผู้ป่วยมักนอนหลับไม่สนิท นอนตะแคงแล้วปวด ต่อมามือและแขนจะชาหรืออ่อนแรง ปล่อยไว้นานจะทำให้ประสาทเสีย อย่างถาวร

7. ปวดหลัง : อาจลามไปถึงอาการปวดบริเวณเอวก้นกบ วิธีป้องกันคือ เลี่ยงกิจกรรมที่กระทบกระเทือนกระดูกสันหลัง ไม่นอนดูทีวีปลายเตียงนานกว่า 3 ชม. ควรนั่งเพื่อให้เอวตั้งตรงและไม่นั่งทำงานห่อไหล่หรือยื่นคอไปใกล้หน้าจอ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และยืดเส้นยืดสายก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง

กะหล่ำปลีผักมากประโยชน์


            กะหล่ำปลีทั้งสีเขียวและสีม่วงนำมาปรุงอาหารได้หลายประเภท  นอกจากความอร่อยแล้ว  ยังมีวิตามินซีสูง  แถมยังช่วงป้องกันมะเร็งลำไส้ในเพศชายได้สูงถึง 66 เปอร์เซ็นต์กะหล่ำปลียังมีใยอาหารสูง  มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหารและกระตุ้นการทำงานของลำใส้ใหญ่  การรับประทานกะหล่ำปลีดิบสัปดาห์ละ 2 ครั้ง  หรือกำหล่ำปลีสุกวันละ 2 ช้อนโต๊ะเป็นประจำ  จะช่วยลดดอกาสเกิดโรคมะเร็งลำใส้และมะเร็งอื่นๆ  ที่มักพบบ่อยบริเวรช่องท้องได้นอกจากนี้กรดทาร์ทาริกในกะหล่ำยังมีส่วนช่วยยังยั้งไม่ให้แป้งและน้ำตาลจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเปลี่ยนไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ตามร่างกายจึงเหมาะสำหรับผุ้ที่กำลังลดน้ำหนักอีกด้วย

Read more...
การทำความสะอาดร่างกายหลังลุยน้ำท่วม

Read more...
ดูแลสุขภาพ....ช่วงวิกฤตน้ำท่วม



             
            
Read more...
วิธีการกำจัด และลดปริมาณยุงจากสิ่งใกล้ตัว
           
 
Read more...
<< Start < Previous 1 2 Next > End >>

Results 1 - 15 of 16
 
สื่อมวลชนทางชีวิต (The way of life) 3131/55-58 ถนนสุขุมวิท ซอย 101/2 บางนา กรุงเทพฯ 10260
โทรศัพท์ 0-2361-1182, 0-2398-8331 โทรสาร 0-2398-8327